วิธีการเพาะ และวิธีการดูแลเห็ดหอม





               วัสดุที่ใช้เป็นอาหารเพาะ เห็ดหอม ได้แก่ ขี้เลื้อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้มะขาม ขี้เลื้อยไม้เบญจพรรณ หมักขี้เลื้อยไม้ฉำฉา ชานอ้อยใหม่ โดยวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ คือ เชื้อเห็ดหอม , ถุงพลาสติกร้อนขนาด             7″ x 11″ -9″ x 15″ , คอพลาสติก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ” สำลี ยางรัด , ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน พร้อมอุปกรณ์ให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ และโรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใยและเปิดออก
การเตรียมอาหารเพาะ สูตรที่ 1 ขี้เลื้อยแห้ง 100 กิโลกรัม รำ 3-5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม ยิบซัม (แคลเซียมซัลเฟต) 0.5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม น้ำ ปรับความชื้น 0.2 กิโลกรัม สูตรที่ 2 ขี้เลื้อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม หมักกับน้ำ 55-65 กิโลกรัม นานประมาณ 2-3 เดือน ผสมรำ 5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม ปรับความชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์ สูตรที่ 3 ชานอ้อย 100 กิโลกรัม หมักกับน้ำ 1 คืน ผสมปูนขาว 1 กิโลกรัม หมัก 1 คืน ผสมแอมโมเนียมซัลเฟต 2 ส่วน โดยน้ำหมักแห้ง ผสมรำ 2 ส่วน โดยน้ำหนักแห้ง ปรับความชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์ สูตรที่ 4 ชานอ้อย ผสมน้ำ ปรับความชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีการเพาะทำโดย ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อน ปิดจุกสำลี ปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบกันไอน้ำ นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดัน หรือหม้อนึ่งไม่มีความดัน อุณหภูมิ 90-1000 ซ. เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง ทิ้งให้เย็น นำถุงวัสดุไปใส่เชื้อเห็ด โดยใช้เชื้อเห็ดที่เจริญเมล็ดธัญพืช (ซึ่งนิยมใช้เมล็ดข้าวฟ่าง) การใส่เชื้อควรจะกระทำในบริเวณที่สะอาดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้ออื่นๆ เช่นเดียวกับวิธีการเพาะเห็ดถุงทั่วๆ ไป และนำไปบ่มเส้นใย โดยการบ่มเส้นใยนั้น การบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุดควรเก็บไว้ในที่ๆ มีอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอ อากาศถ่ายเทได้จนเส้นใยเริ่มตัวกัน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 – 4 เดือน ในปริมาณ อาหาร 800-1,000 กรัม และเริ่มสร้างตุ่มดอก ในบางสายพันธุ์ผิวของก้อนเชื้อจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเฉพาะส่วนที่ถูกแสง และการทำให้เกิดดอกทำโดยถอดจุกสำลีและคอขวด หรือตัดปากถุงพลาสติก วางก้อนเชื้อในโรงเรือน 
                     การดูแลรักษาเห็ดหอมนั้นต้องรักษาความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 80-90 % (ตั้งแต่เริ่มเปิดถุงจนเกิดตุ่มดอก) และเมื่อดอกเห็ดเจริญเริ่มเห็นหมวกเห็ดให้รักษาความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือน ประมาณ 60-70 % ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงมากทำให้ก้านใหญ่ อุณหภูมิที่แปรปรวนระหว่างให้ผลผลิตจะช่วยกระตุ้นการเกิดดอกเห็ด แต่ไม่ควรให้มีช่วงอุณหภูมิสูงเกินกว่า 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานติดต่อกัน ซึ่งระหว่างดอกเห็ดเจริญต้องการการถ่ายเทอากาศที่ดี ถ้ามีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในโรงเรือนมาก จะทำให้เห็ดมีก้านยาว หมวกเล็ก การมีแสงพอสมควรจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอก สามารถใช้วิธีการกระตุ้นก้อนเชื้อด้วยน้ำเย็นอุณหภูมิ 10-150 องศาเซลเซียส ก่อนการเปิดถุงให้ออกดอก และหลังจากการพักก้อนเชื้อในระยะระหว่างเก็บดอกเห็ดแต่ละรุ่น ซึ่งทำได้ดังนี้ วิธีที่ 1 แช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็น เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง แล้วเปิดปากถุงหรือแกะพลาสติกออกนำไปวางในโรงเรือนเกิดดอก วิธีที่ 2 เปิดปากถุงและให้น้ำในก้อนเชื้อที่วางในโรงเรือน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงเทน้ำออก วิธีที่ 3 ตัดปากถุงและคว่ำก้อนเชื้อฟองน้ำเปียกเป็นเวลา 24-36 ชั่วโมง ส่วนการดูแลรักษาระหว่างให้ผลผลิตนั้นต้องรักษาอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนตามความต้องการของเห็ดในแต่ละขั้นตอน หลังจากเก็บดอกเห็ดในแต่ละรุ่น ก้อนเชื้อเห็ดพักตัวประมาณ 15-30 วัน ระหว่างนี้รักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 60-70 % ไม่ให้ก้อนเชื้อถูกน้ำโดยตรงมีการถ่ายเทอากาศดี เมื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดดอกจึงให้ความชื้นที่ก้อนเชื้อ หรือใช้วิธีกระตุ้นด้วยน้ำเย็น แต่ไม่ให้มีน้ำขังในถุง ระหว่างเก็บผลผลิต ควรฉีดพ่นภายในโรงเรือนด้วยสารละลายคลอรีน อัตรา 200 พีพีเอ็ม (0.02 %) เป็นระยะๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย การเก็บผลผลิต
ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่หมวกยังไม่บานเต็มที่ ถ้าเก็บสำหรับแห้งควรเก็บเมื่อหมวกบานประมาณ 60 % หรือเมื่อเยื่อที่ยึดหมวกและก้านเริ่มขาดออกตัดก้านให้เหลือไม่เกิน 1 เซนติเมตร ถ้าเก็บเพื่อบริโภคดอกสด อาจจะให้หมวกบาน 70-80 % แต่ไม่ควรบานเต็มที่ ไม่ควรให้ดอกเห็ดถูกน้ำแฉะจะทำให้เน่าเสียเร็ว ตัดก้านให้เหลือประมาณไม่เกิน 0.5 นิ้ว การเพาะจะได้ผลผลิตมากรหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่างๆ มีความสำคัญมากต่อการให้ผลผลิต การดูแลรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้เก็บผลผลิตได้นาน การเพาะเห็ดหอมในสภาพที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ควรทำก้อนเชื้อขนาดเล็ก ซึ่งเส้นใยเห็ดเจริญเต็มอาหารเพาะได้ในเวลาสั้น การปนเปื้อนจะมีน้อยลง และถ้าต้องการให้ได้ดอกเห็ดที่มีขนาดใหญ่ควรบังคับให้ก้อนเชื้อสัมผัสอากาศ เฉพาะบางส่วนเท่านั้น มิฉะนั้นจะมีดอกเห็ดเกิดมากและมีขนาดเล็ก ส่วนการเก็บรักษาผลผลิตดอกเห็ดสดหากไม่ใช้บริโภคทันที ควรเก็บในภาชนะที่มีอากาศผ่านได้ และวางดอกเห็ดซ้อนกันไม่มากเกินไป หรือใส่ในถุงพลาสติก ปิดและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 0-20 ซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ภายในเวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง ภายหลังการเก็บดอกเห็ด